ประเภทของคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งตามความสามารถของระบบ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
ประเภทของคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง วันนี้แอดมินจะนำเสนอเนื้อหาให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ได้ศึกษาให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ก่อนที่จะไปลุยสนามสอบครูผู้ช่วยปี 2564 นี้กันครับ
ประเภทของคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
พัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอดีตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และอายุการใช้งานต่ำ เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากชิ้นซิลิกอนเล็กๆ ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และผลิตได้จำนวนมาก ราคาถูก โดยประเภทคอมพิวเตอร์แบ่งตามความสามารถของระบบ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
- ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
- มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
- เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ (Mainframe computer)
- ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
1. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ราคาถูกที่สุด ใช้งานง่าย และนิยมมากที่สุดราคาของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะอยู่ในช่วงประมาณหมื่นกว่า ถึง แสนกว่าบาท ในวงการธุรกิจใช้ไมโครคอมพิวเตอร์กับงานทุก ๆ อย่าง ไมโครคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กพอที่จะตั้งบนโต๊ะ (DeskTop) หรือ ใส่ลงในกระเป๋าเอกสาร เช่น คอมพิวเตอร์วางบนตัก (Lap top) หรือโน๊ตบุ๊ค (Note book) ไมโครคอมพิวเตอร์สามารถทำงานในลักษณะประมวลผลได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเรียกว่าระบบแสตนอโลน (Standalone system)
2. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
มินิคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในระหว่างปี ค.ศ.1960 – 1969 เพื่อใช้กับงานเฉพาะอย่าง เช่น ใช้ในการสื่อสารข้อมูล ในปัจจุบันมินิคอมพิวเตอร์เป็นคู่แข่งกับเมนเฟรมในด้านประสิทธิภาพการทำงานและถูกนำมาใช้ในงานประมวลผลคำ งานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ และใช้กับโปรแกรมประยุกต์ในการทำงานหลาย ๆ อย่างมินิคอมพิวเตอร์คล้ายกับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์แต่ขนาดเล็กกว่า ราคาถูกกว่า และบำรุงรักษาง่ายกว่า ราคาอยู่ในช่วงประมาณ 1 ล้านกว่าขึ้นไป มินิคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมโยงกับ เครื่องเทอร์มินัลได้หลาย ๆ เครื่อง มีผู้ใช้งานได้หลาย ๆ คนในเวลาเดียวกัน (Multiuser)
3. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ทำงานร่วมกับอุปกรณ์หลาย ๆ อย่างด้วยความเร็วสูงใช้ในงานธุรกิจขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัยธนาคารและโรงพยาบาลเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมาก ๆ เช่น ในการสั่งจองที่นั่งของสายการบินที่บริษัททัวร์รับจองในแต่ละวัน นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงใช้งานกับเครื่องเทอร์มินัล (Terminal) หลาย ๆ เครื่อง ในระยะทางไกลกันได้ เช่น ระบบเอที่เอ็ม (ATM) การประมวลผลข้อมูลของระบบเมนเฟรมนี้มีผู้ใช้หลาย ๆ คนในเวลาเดียวกัน (Multiuser) สามารถประมวลผลโดยแบ่งเวลาการใช้ซีพียู (CPU) โดยผ่านเครื่องเทอร์มินัล การประมวลผลแบบแบ่งเวลานี้เรียกว่า Time sharing
4. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดสามารถทำงานได้เร็วที่สุดความเร็วในการประมวลผล แลการรับส่งข้อมูลเหนือกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์และเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงที่สุดซุปเปอร์คอมพิวเตอร์มัใช้กับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่สำคัญและใช้กับงานเฉพาะด้าน สามารถทำการประมวลผลในงานต่าง ๆ กันในเวลาพร้อมกันการประมวลผลภายใน 1 นาที ถ้าเทียบกับการทำงานของเครื่อง พีซี อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์
ขอบคุณข้อมูล :: sitecsw63no13
จำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
คอมพิวเตอร์แบบแอนะล็อก (Analog Computer)
หมายถึง เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่า Analog Signal เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักแสดงผลด้วยสเกลหน้าปัทม์ และเข็มชี้ เช่น การวัดค่าความยาว โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัดการวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอท เปรียบเทียบกับสเกลข้างหลอดแก้ว นอกจาก นี้ยังมีตัวอย่างของ Analog Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น เครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำ ที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัวเลขแสดงปริมาณ อุปกรณ์วัดความเร็วของรถยนต์ในลักษณะเข็มชี้ หรือเครื่องตรวจคลื่ยสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer)
ซึ่ง ก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ ไปนั่นเอง เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะ การเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลที่เป็นจังหวะด้วยตัวนับ (Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลามาตรฐาน ทำให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งสามารถนับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นทศนิยมได้หลายตำแหน่ง เป็นต้น เนื่องจาก Digital Computer ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้า (มนุษย์สัมผัสไม่ได้) ทำให้ไม่สามารถรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต้นทางได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลต้นทางที่รับเข้า (Analog Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Digital Signal) เสียก่อน เมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้วจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับไปเป็น Analog Signal เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ต่อไป
คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer)
เครื่องประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer ในการคำนวณระยะทาง เป็นต้น
การทำงานแบบผสมผสาน ของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิม
ที่มา :: ก
ท่านสามารถติดตามข่าวสารการศึกษา ข่าวเปิดสอบงานราชการ เปิดสอบครูอัตราจ้าง ข่าวเรียกบรรจุ อบรมออนไลน์ โหลดสื่อการสอน หรืออ่านบทความต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรา http://krucomonlines.com ได้ตลอดเวลา และสุดท้ายขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา เราจะนำเสนอข้อมูล เนื้อหาดี ๆ มีสาระให้กับทุกท่านอีกครั้งอย่างแน่นอน ขอขอบคุณครับ